ภัยคุกคามในทะเล

 ภัยคุกคามในทะเลที่สำคัญคือ

อุตสาหกรรมการประมง

    💧อุตสาหกรรมประมงพาณิชย์ที่ไร้ความรับผิดชอบกำลังแข่งขันเพื่อล่าปลาที่มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยเรือประมงที่ใช้อุปกรณ์ ประสิทธิภาพสูง และทำลายระบบนิเวศเกินกว่าการที่ธรรมชาติจะสามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้




การจับสัตว์น้ำพลอยได้

   💧การทำประมงสมัยใหม่นั้นเป็นการประมงที่สร้างความสูญเสียของระบบนิเวศโดยไม่จำเป็น ในทุกปีตาข่ายจับปลาและอวนลากได้คร่าชีวิตวาฬ และโลมาไม่น้อยกว่า 300,000 ตัวทั่วโลก และยังทำลายที่อยู่อาศัยและสัตว์น้ำผู้อยู่อาศัย  ตัวอย่างเช่น เรืออวนลากที่ทำลายป่าปะการังที่มีมาตั้งแต่โบราณ ไปพร้อมกับระบบนิเวศที่แสนบอบบางโดยรอบ




การประมงที่ไม่เป็นธรรม

   💧เรือประมงที่ละเมิดกฎหมายมักกระทำการลักลอบจับปลา และไม่คำนึงถึงน่านน้ำของประเทศที่ขาดความมั่นคงทางอาหารและรายได้ โดยผู้ที่ทำการประมงอย่างผิดกฎหมายนั้นจะให้ผลตอบแทนเพียงสัดส่วนเล็กน้อย กลับคืนไปยังประเทศผู้เป็นเจ้าของน่านน้ำที่มีทรัพยากร เช่นประเทศในแถบแอฟริกาและกลุ่มประเทศริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก



 ภาวะโลกร้อน

      💧บรรดาสายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำทั้งหมดต่างตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันเนื่องมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิ สัตว์น้ำไม่สามารถรอดชีวิตได้ในอุณหภูมิและกระแสน้ำที่แปรเปลี่ยน  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคืออุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นเชื่อว่าเป็นตัวการของปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวและตาย เพราะไม่สามารถทนสภาวะนี้ได้

       วิกฤตโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้นทุกปีนั้นทำให้อุณหภูมิของท้องทะเลสูงขึ้น สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (U.S.Environmental Protection Agency) ระบุว่าในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลนั้นเพิ่มสูงกว่าในอดีต จากการบันทึกข้อมูลไว้ตั้งแต่ประมาณปี 2423 เมื่อมนุษย์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ก๊าซเหล่านี้หากไม่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก็จะละลายไปกับน้ำทะเล คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งถูกดูดซับโดยมหาสมุทร ทำให้น้ำทะเลมีสภาวะเป็นกรด ส่งผลต่อสัตว์ที่มีโครงสร้างหินปูนเพื่อดำรงชีวิต เช่น แพลงก์ตอนพืชซึ่งเป็นอาหารหลักของสัตว์น้ำ และหอย ซึ่งพวกมันจะสร้างเปลือกหุ้มตัวได้ยากขึ้น ที่เด่นชัดคือปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว และความเปลี่ยนแปลงนี้เองจะส่งผลกระทบกันต่อไปเป็นทอด  ทำให้ระบบห่วงโซ่อาหารในทะเลแปรปรวนทั้งระบบ รวมถึงยังมีสัตว์น้ำบางชนิดไม่สามารถรอดชีวิตได้ในอุณหภูมิและกระแสน้ำที่แปรเปลี่ยน แน่นอนว่าปลาเศรษฐกิจที่เราชอบรับประทานก็จะยิ่งลดจำนวนลงเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางทะเล ด้วยเหตุนี้สภาวะน้ำทะเลเป็นกรดจึงถูกขนานนามว่าเป็น “แฝดตัวร้าย” ของสภาวะโลกร้อน




มลพิษ

 💧มลพิษ อันสืบเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์คืออีกหนึ่งผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทั้งนี้อาจจะเป็นมลพิษที่ถูกทิ้งลงทะเลโดยตรง มลพิษที่มาจากน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสกปรก หรืออาจจะมาจากการชะล้างมลพิษทางอากาศและพื้นดินของน้ำฝนที่ไหลลงสู่ทะเลก็ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเลเช่นกัน

เมื่อมนุษย์มีความต้องการทางการบริโภคเพิ่มขึ้น จากการจับปลาเพียงเพื่อพอเพียงต่อการบริโภคก็กลับกลายเป็นอุตสาหกรรมประมงขนาดใหญ่ โดยไม่นานมานี้ ารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง sciencemag.org ได้เผยงานวิจัยว่า สภาวะทะเลเป็นกรด การประมงเกินขนาด และกิจกรรมของมนุษย์อื่นๆ นั้นเป็นตัวการที่คุกคามอนาคตที่ยั่งยืนของท้องทะเล ซึ่งนี่เป็นเพียงปัญหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่มหาสมุทรซุกซ่อนไว้ภายใต้ความเวิ้งว้างอันสวยงาม ที่เรามักนำปัญหาและความทุกข์ไปฝากไว้ทุกครั้งเมื่อไปเยี่ยมเยือนทะเล



ข้อมูลแหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/mofokglstlgzkgsoshendfh/home/payha-ni-pra-ka-rang/sing-mi-chiwit-ti-thxng-thale/satw-thi-xyu-ni-thxng-thale/payha-thi-xyu-ni-thale






2 ความคิดเห็น:

Welcome

  ยินดีต้อนรับ 💧 ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก " ปัญหาของสัตว์น้ำในทะเล " 💧 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาในทะเล มีดังนี้                ...